web analytics

แนะนำการเล่นเกม Factorio ตอนที่ 2

cover2

จากตอนที่ 1 ผมได้เล่าถึงเรื่องพื้นฐานของเกมคร่าวๆ จนถึงเรื่องของการผลิตกระแสไฟฟ้าในเกม Factorio ด้วยการต้มน้ำแล้วเอาไอน้ำไปปั่นไฟฟ้าอีกที จากนั้นก็เอาไฟฟ้าไปแจกจ่ายให้เครื่องจักรด้วยเสาไฟฟ้า ซึ่งรายละเอียดในบทความที่ 1 ทั้งหมด ภายในเกมมีสอนเล่นเช่นกัน

 

ใครยังไม่ได้อ่าน ตอนที่ 1 ตามไปอ่านได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี่้

ตอนที่ 1

https://benzneststudios.com/blog/game/review-factorio-game/

 

ตอนที่ 2 เป็นต้นไปนี้ บอกไว้ก่อนว่าจะเป็นการสปอยเกมแล้ว หากใครอยากค้นพบอะไรเอง หลังจากตอนที่ 1 อย่าพึ่งอ่านนะ

มาอ่านต่อกันเลย

 

เครื่องจักรขุดพลังไฟฟ้า

พอเราเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องเหนื่อยที่จะต้องเอาถ่านหินไปป้อน ให้ Burner mining drill ขุดแร่อีกต่อไปแล้ว เราสามารถสร้าง Electric mining drill แทนได้เลย เรียกว่านี่คือ เครื่องจักรขุดแร่ Lv2

33

 

ข้อดีของมัน นอกจากใช้ไฟฟ้าไม่ต้องมาคอยเติมเชื้อเพลิงให้มันแล้ว มันยังขุดแร่ได้ไวกว่า มลพิษน้อยกว่า แต่ทั้งนี้ในกรณีที่ ไฟฟ้าไม่พอ (ดูที่หลอด Electricity) มันก็จะขุดช้าลงเรื่อยๆ ดังนั้นต้องหมั่นดูไฟฟ้าให้ดีด้วยนะ

34

 

ถึงเวลาวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ

อย่าลืมว่าเราต้องทำการวิจัยด้วย เพื่อให้ได้เทคโนโลยีใหม่ๆ การวิจัยนั้นจะต้องใช้ science pack ในการวิจัย และใช้แตกต่างกัน โดยดูได้จากหน้าวิจัย (กด T) จะเห็นว่าการวิจัยเทคโนโลยีพื้นฐานจะใช้ขวดสีแดง ดังนั้นเราต้องเริ่มจากผลิต Science pack 1 ก่อน (ขวดสีแดง)  แล้วค่อยๆไป 2 (ขวดสีเขียว) 3 (ขวดสีฟ้า) 4 (ขวดสีม่วง) โดยการวิจัยก็จะแบ่งหัวข้อหลักๆคือ

Automation = พวกโรงงานประกอบมีความสามารถมากขึ้น

Electronics = ได้แผงวงจรทำให้สามารถผลิตเครื่องจักรได้หลากหลายขึ้น

Circuit = ตั้งให้เครื่องจักรทำงานซับซ้อนขึ้นได้

Logistics = ได้สายพานที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น ขนส่งไวขึ้น ทางลอดใต้ดิน

Optics and Laser = ได้หลอดไฟ กับ โซล่าเซล และจะโยงไปเป็นป้อมเลเซอ

Engine = ผลิตเครื่องยนตร์ได้

Material processing = ผลิตเหล็กได้ และสร้างโรงหลอมพลังไฟฟ้า

Electric Energy = ไดพวกเสาไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Railway = ได้เทคโนโลยีรถไฟ พวกราง หัวรถจักร

Robotics = ได้เทคโนโลยีหุ่นยนต์

Fluid and Oil processing = ได้เทคโนโลยีน้ำมัน กลั่นน้ำมัน แยกสสาร

Military = ได้ปืนใหม่ๆ ลูกกระสุนใหม่ๆ ชุดเกราะใหม่ๆ

Turrets = ป้อมปืนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Wall and Gate = ได้กำแพง และประตู

Explosives = ได้เทคโนโลยีระเบิด พวกจรวด

ยังมีอีกพอสมควร อันนี้ยกตัวอย่างคร่าวๆก่อน

 

สร้างมหานครแห่งการวิจัย

ในเมื่อเราต้องทำการวิจัยอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นจึงจำเป็ต้องผลิต Science pack เป็นจำนวนมาก วิธีคือสร้างโรงประกอบแล้วผลิตในจำนวนมาก ก่อนอื่นก็หาของที่มันต้องใช้มาก่อนแล้วก็ป้อนให้กับโรงงานประกอบ เหมือนกับผลิตเฟืองที่อธิบายไว้ในตอนที่ 1

36

 

พอผลิตขวดแต่ละสีได้แล้ว ก็ส่งมายังแลปผ่านสายพาน

35

 

จากนั้นสามารถดู ความคืบหน้าการวิจัยได้ที่ บนขวาของจอ

37

 

ทีนี้ก็แล้วแต่ว่าเราจะวิจัยอะไร ต้องการเทคโนโลยีอะไร ซึ่งก็แล้วแต่แนวทางการเล่นของแต่ละคนครับ

 

เทคโนโลยีขนส่งด้วยสายพาน

การขนส่งด้วยสายพานในระดับแรกนั้นก็จัดว่ารวดเร็วดีทีเดียว แต่ว่าก็ไม่ทันใจในบางอย่าง เช่น การประกอบของบางอย่างทำได้รวดเร็วมาก ไม่ถึง 1 วินาทีก็เสร็จแล้ว แต่กลับต้องใช้วัตถุดิบของหลายอย่าง

เวลาในการ input มากกว่าเวลา process = ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ

ดังนั้น จะทำให้การผลิตไม่ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงต้องเลือกสายพานให้เหมาะสม  โดยสามารถวิจัยสายพานนี้ได้ โดยวิจัย Logistics

เปรียบเทียบความเร็วของสายพาน

สีเหลือง (Transport belt)

สีแดง (Fast transport belt)

สีน้ำเงิน (Express transport belt)

logistics

เจ้าตัวสายพานสีฟ้า นับว่าขนส่งเร็วมากๆ ถ้าเราเอาตัวละครไปเดินสวนมัน จะเหมือนเราว่าบนลู่วิ่งออกกำลังกายเลยละ คือเหมือนกับ “วิ่งอยู่กับที่”

 

การต่อสายพาน

สายพาน 1 อันนั้นจะมี 2 แถว ดังนั้นใน 1 สายพานเราสามารถขนส่งของสอsงอย่างได้ และในกรณีที่การประกอบของ ต้องใช้วัตถุดิบสองอย่าง เราก็สามารถใช้สายพานแค่ อันเดียวในการขนส่งได้

การใช้สายพานรองต่อมายังสายพานหลัก

41

 

ต่อสองทาง

42

 

สายพานใต้ดิน

บางทีเราก็จำเป็นต้องใช้พื้นที่ ที่สายพานผ่าน เช่น เส้นทางสายพานตัดกัน เราสามารถใช้ทางลอดใต้ดินได้ (Underground belt) จะมีลูกศรในการแสดงบอกทิศทางของสายพาน ทางลอดก็คือสายพาน ดังนั้นก็จะมีความเร็วด้วยเหมือนกับสายพาน คือมี 3 ระดับ

43

 

ตัวแบ่งแยก

บางทีเราจำเป็นต้องการแบ่งของในสายพานหนึ่ง ไปอีกสายพานหนึ่งโดยของยังคงอยู่ในแนวเดิม เราสามารถใช้ตัวแบ่งแยก (Splitter) ได้ ตัวแบ่ง ก็มี 3 ระดับ ตามความเร็วของสายพาน โดยมันจะแบ่งอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ถ้า ตัวแบ่งกับสายพานเป็นระดับเดียวกัน

splitter

 

ทีนี้ก็แล้วแต่เราออกแบบสายพานแล้วละครับ

44

 

 ตัวหยิบ

เทคโนโลยีสายพานจะมาคู่กับ ตัวหยิบ (Inserter) ด้วย กล่าวคือ เพื่อการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพสายพานส่งมารวดเร็วแล้ว เจ้าตัวหยิบก็ต้องทำงานสอดคล้องด้วย มาไว หยิบไว ประกอบไว มาดูกันว่าตัวหยิบมีอะไรบ้าง

39

Burnner inserter (ตัวสีเทา) = ตัวหยิบระดับแรก ทำงานช้า ต้องใช้เชื้อเพลิง เราต้องคอยเอาถ่านหินมาเติม

Inserter (ตัวสีส้ม)  = ใช้ไฟฟ้าแล้ว แต่ก็ยังทำงานช้า

Long handed inserter (ตัวสีแดง) = ใช้ไฟฟ้าทำงานไวระดับนึง และหยิบได้ไกล

factory

 

Fast inserter (ตัวสีฟ้า) = ใช้ไฟฟ้า ทำงานไวมาก

Smart inserter (ตัวสีเขียว) = ใช้ไฟฟ้า หยิบไว สามารถตั้งหยิบของเฉพาะอย่างได้

40

 

โรงหลอมพลังไฟฟ้า

เมื่อเราใช้ไฟฟ้าในเครื่องจักรแล้ว การหลอมของโดยใช้ไฟฟ้าก็ไม่ใช้เรื่องยากแล้ว เพียงแค่เราวิจัยให้ได้ Electronic furnace ทีนี้การสร้างแผ่นเหล็ก แผ่นทองแดง ก็ง่ายแล้ว ไม่ต้องมาคอยเติมเชื้อเพลิงให้มัน

45

 

นอกจากนี้ มันยังทำงานไวมาก แถมยังมีช่องให้ใส่ Module เพิ่มได้อีก 2 ช่อง คือ เพิ่มความสามารถให้มัน เดี๋ยวเรามาดูว่ามันมีอะไรบ้าง แต่ทั้งนี้ข้อเสียของมันคือ ใช้ไฟฟ้าสูงมาก ต้องเตรียมไฟฟ้ารองรับไว้ให้ดีๆ

45-1

 

เทคโนโลยีกลั่นน้ำมัน

มาถึงเรื่องใหญ่อีกเรื่องคือ เรื่องของน้ำมัน ก่อนอื่นต้องวิจัยเกี่ยวกับ Oil processing ก่อน

48

 

หาบ่อน้ำมัน

จากนั้นก็หาบ่อน้ำมัน ซึ่งอาจจะหายากนิดนึง พอเอาเม้าไปชี้มันจะขึ้นทางขวา ว่า Crude oil

46

 

แท่นขุดน้ำมัน

จากนั้นก็สร้าง ที่ดูดน้ำมัน (Pumpjack) ทับบ่อน้ำมัน จะเห็นว่ามี ลูกศรแสดง output ด้วย นั่นคือทางออกของน้ำมัน โดยน้ำมันแต่ละบ่อก็จะบอกด้วยว่า ได้น้ำมันเท่าไร

47

 

ท่อขนส่งของเหลวและก๊าซ

พอเราขุดน้ำมันได้แล้ว เราจะใช้สายพานไม่ได้แล้ว ต้องใช้ท่อแทน ซึ่งท่อก็มีท่อปกติกับ ท่อใต้ดิน จะเห็นว่าท่อใต้ดิน ต้องใช้ท่อปกติ 10 อัน ดังเวลามันมุดใต้ดินมันก็จะมุดได้มากสุดแค่ 10 ช่องนะ

51

 

ตอนสร้าง หรือเวลาเอาเม้าไปชี้จะปรากฏเส้นทางของท่อใต้ดิน

50

 

โรงกลั่นน้ำมัน

พอได้น้ำมันมาแล้วเราก็ต่อท่อมาที่ โรงกลั่นน้ำมัน (Oil refinery)

49

 

โรงกลั่นน้ำมันสามารถกลั่นได้ 2 แบบ คือ Basic กับ Advance (ต้องวิจัยก่อน)

แบบ Basic คือใช้แค่ น้ำมันมากลั่น

แบบ Advance จะใช้น้ำกับน้ำมัน

ซึ่งแต่ละแบบก็จะได้ผลิตภัณฑ์เหมือนกัน แต่จำนวนต่างกัน เช่น ถ้าอยากได้ ปิโตรเลียมแก็ส (อันกลมขาวๆ) เยอะๆก็เลือกแบบ Advance แต่อย่าลืมว่า ถ้าเลือกแบบ Advance ต้องใช้น้ำด้วย ก็ต้องสร้างปั้มน้ำแล้วส่งน้ำมาที่โรงกลั่นอีกที ดังนั้นควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ

ของเหลวสีแดง คือ Heavy oil

ของเหลวสีเหลือง คือ Light oil

กลมๆสีขาว คือ Petroluem gas

52

 

ในกรณีที่มันทำงานเสร็จแล้ว แต่ก๊าซที่ได้มันไม่มีที่ไป มันก็จะไม่ทำงานต่อ  ดังนั้นต้องหาที่เก็บหรือ หาทางนำไปใช้ต่อด้วยทั้งสามอย่างเลย (จะใช้แค่อย่างเดียวไม่ได้) การที่มันกลั่นที่เดียวได้ถึงสามอย่าง มันก็เลยอาจจะลำบากในการจัดการนิดนึง เดี๋ยวมาดูต่อว่าเราจะเอาสิ่งที่กลั่นได้ ไปใช้ต่อยังไง

53

 

แทงค์เก็บ

การเก็บของปกติเราใช้ กล่องเก็บของ แต่พวกของเหลวเราจะใช้แทงค์ในการเก็บ เก็บได้ทั้งน้ำ น้ำมัน และก๊าซ เก็บได้มากสุด 2500 หน่วย โยเราต้องต่อท่อมาหาช่องของมัน เวลาโณงกลั่นจะใช้มันก็จะเอาไปใช้เองถ้าท่อเชื่อมกันกับ input

54

 

โรงงานเคมี

พอเราได้ก๊าซที่กลั่นได้มาแล้ว ก็นำมาเข้าที่โรงงานเคมี ซึ่งสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่างเลย ต้องตั้งค่าก่อนนะ และบางอย่างอาจต้องวิจัยก่อน ยกตัวอย่างง่ายสุดคือ solid fuel (ก้อนสี่เหลี่ยมดำๆ) ซึ่งก็แค่นำก๊าซ มาเข้าแล้วก็ได้เลย และเจ้านี่ก็เอาไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เลยแทนถ่านหิน เป็นของแข็ง ดังงั้น แค่สร้างตัวหยิบมาได้เลยแล้วใส่ลงสายพาน

55

 

อีกตัวก็อย่างเช่น Sulfur (แท่งเหลืองๆ) ก็ต้องใช้น้ำ และ ปิโตรเลียมก๊าซ มาผสมกัน จากนั้นก็สร้างตัวหยิบลงสายพานได้เลย

56

 

แล้วก็ตัวที่ยุ่งยากมากตัวนึง คือ แบตเตอรี่ ที่ต้องใช้ input หลายอย่าง ทั้งก๊าซ แล้วก็แผ่นเหล็ก แผ่นทองแดง แต่พอทำได้แล้วรับรองภูมิใจ

58

 

จะเห็นว่ากว่าจะได้แต่ละอย่างออกมา มีขั้นตอนพอสมควร ต้องวางแผนดีๆเลยละ ไม่งั้นอาจจะลำบากภายหลัง ซึ่งของผมที่เล่นไว้ก็มั่วมากๆ

57

 

จบแล้ว

จบตอนที่สองแล้ว ยังเป็นแค่ส่วนหนึ่งของเกมเท่านั้น ตอนนี้อาณาจักรของเราก็คงใหญ่พอตัวแล้วละ พวกสายพาน ท่อน้ำมันคงจะพันกันไปหมดแล้ว เกมนี้มันสนุกที่เราต้องใช้สมองนี่เอง ได้วางแผน ได้คิดอะไรเยอะแยะเลย ขอจบเพียงเท่านี้ก่อน ตอนหน้าจะมาต่อเรื่องของรถไฟ ขอยกไปเล่าต่อในตอนที่ 3 ครับ

หากมีคำถาม หรือคำแนะนำก็สามารถคอมเม้นไว้ด้านล่างได้เลยครับ

ขอบคุณที่ติดตามครับ สวัสดีครับ